สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน มีแผนการบริการวิชาการซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักวิชาที่กำหนด โดยพัฒนาโครงการบริการวิชาการในเชิงบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ในทุกสาขาวิชาและการผลักดันของหัวหน้าสถานวิจัยในการพัฒนาโครงการบริการวิชาการในลักษณะการวิจัยรับใช้สังคม (Social Engagement) และบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชา MGT60-301 พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม รวมทั้งได้จัดสรรงบประมาณกองทุนสำนักวิชาการบัญชีและการเงินสำหรับการดำเนินโครงการด้วย

               คณะทำงานของของโครงการได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของชุนชนรายรอบมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความต้องการของชุมชน ความพร้อมของคณาจารย์และนักศึกษา และหน่วยงานในพื้นที่ที่มีความพร้อมและสนใจในการพัฒนาโครงการร่วมกัน ทำให้สรุปพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการเป็นพื้นที่ตำบลไทยบุรี โดยมีเป้าหมายโครงการเพื่อพัฒนาตลาดไทยบุรีขึ้นตามแผนของ อบต. ไทยบุรี และมีสมาชิกของกลุ่มอาชีพที่องค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี (อบต.ไทยบุรี) ได้ริเริ่มพัฒนากลุ่มเข้าร่วมโครงการ รวมทั้ง คณะทำงานได้ขออนุมัติโครงการและได้รับความเห็นชอบจากศูนย์บริการวิชาการในการบรรจุเป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม คณะทำงานของโครงการร่วมกับ อบต.ไทยบุรีได้พัฒนาโครงการออกเป็น 4 โครงการใหญ่ ประกอบด้วย                                                              1) โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการจัดจำหน่าย                                                                                                                                                                  2) โครงการพัฒนาระบบการบริหารตลาดชุมชน                                                                                                                                                                                3) โครงการพัฒนาสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม                                                                                                                                                                                    4) โครงการออกแบบตราสัญลักษณ์และภูมิทัศน์ตลาดชุมชน

              การดำเนินโครงการไม่สามารถทำได้ตามแผนนัก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด แต่ผลการประเมินจากอบต.ไทยบุรีและกลุ่มอาชีพที่เข้าร่วมโครงการแสดงให้เห็นว่าโครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาชุมชนโดยใช้องค์ความรู้ของคณาจารย์และนักศึกษา บูรณาการกับความต้องการของชุมชน และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานสนับสนุนในพื้นที่ ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่โครงการจะมีความยั่งยืนในการดำเนินงานและเกิดประโยชน์ต่อชุมชนในระยะยาว ประกอบกับสำนักวิชาเคยพัฒนาโครงการในลักษณะ Social Engagement ในพื้นที่โคกเหล็กมาก่อนแล้ว ซึ่งพบว่าหากมีการลงพื้นที่ในระยะยาวเช่นอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไปจะเป็นแนวทางที่ดีในการบริการวิชาการที่เกิดผลต่อการพัฒนาชุมชน ทำให้สำนักวิชาจะวางแผนจะปรับปรุงการบริการวิชาการในลักษณะบูรณาการอีกในปีการศึกษาต่อไป

รายงานโครงการบริการวิชาการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ นวลนุ่ม หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สร้างความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดจังหวัดนครศรีธรรมราช

Read More »