ภาพหน้าปก

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดเสวนาและนิทรรศการเผยแพร่ความรู้การสร้างเครื่องพุทธบูชา สานต่อศิลปะพื้นบ้านสู่วิถียั่งยืน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พัฒนาและจัดอบรมหลักสูตร “การสร้างเครื่องพุทธบูชา (พุ่มต้นไม้เงินและทอง)”

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยโครงการการบันทึกและอนุรักษ์การสร้างทำเครื่องพุทธบูชาเพื่อถวายแด่พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ นวลนุ่ม อาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหัวหน้าโครงการ ภายใต้โครงการวิชาการรับใช้สังคม (WU-Social Engagement) ของศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้จัดนิทรรศการและเสวนาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างทำเครื่องพุทธบูชาค้นพบจากการสำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่และการศึกษาเชิงลึกเพื่อการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจและหาแนวร่วมในการฟื้นฟูและต่อยอดจำนวน 2 ครั้งประกอบด้วย (1) การเสวนาหัวข้อ “เครื่องพุทธบูชา: งานต้นไม้จากโลหศิลป์” เมื่อวันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2567 ณ ตึกยาว บวรนคร ท่าวัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และ (2) การเสวนาและนิทรรศการหัวข้อ “การฟื้นเครื่องพุทธบูชา: สานต่อศรัทธา สืบต่อภูมิปัญญาช่างศิลป์ท้องถิ่นนคร” เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

สำหรับโครงการการบันทึกและอนุรักษ์การสร้างทำเครื่องพุทธบูชาเพื่อถวายแด่พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) บันทึกและอนุรักษ์การสร้างเครื่องพุทธบูชาซึ่งเป็นดอกไม้และต้นไม้ที่ประดิษฐ์จากงานโลหะ (2) ฟื้นฟูการสร้างทำเครื่องพุทธบูชาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช และ (3) ฟื้นฟูพิธีถวายเครื่องพุทธบูชาแด่พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช

โครงการการบันทึกและอนุรักษ์การสร้างทำเครื่องพุทธบูชาเพื่อถวายแด่พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 11 Sustainable Cities and Communities ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน ตัวชี้วัดที่ 11.2.6 การบันทึกและอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านและมรดกทาง และ ข้อที่ 17 PARTNERSHIPS FOR THE GOALS เสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการปฏิบัติให้เกิดผล และสร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตัวชี้วัด 17.2.1 ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Facebook Comments