ชื่อหลักสูตร  มคอ2

ภาษาไทย: หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Economics Program


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: เศรษฐศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Economics


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สำนักวิชาการจัดการ มุ่งผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ สามารถคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

1. มีความรู้ความสามารถทางทฤษฎีและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ทันสมัย
2. สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์กับสาขาอื่นไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์เชิงบูรณาการ
3. เป็นบัณฑิตพร้อมใช้งานโดยมีทักษะ ความรู้ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพ
4. มีทักษะความสามารถด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ในการปฏิบัติงานภายใต้กรอบของคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
5. มีภาวะผู้นำ ทำงานเป็นทีม บุคลิกภาพดี มีมนุษยสัมพันธ์ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

       การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562) ครอบคลุมทั้งความรู้ และทักษะทั่วไปที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้พื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์ และความรู้/ทักษะเฉพาะทาง โดยกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) ที่สอดคล้องกับ การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา ได้แก่ ได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้สอดคล้องทักษะทั้ง 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เพื่อให้ได้มาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ทั้งมาตรฐานผลการเรียนรู้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป และหมวดวิชาเฉพาะ รวมทั้ง ดำเนินการจัดทำแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)  (มคอ.2 หน้า 64-81) ได้แก่ (1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (2) ด้านความรู้ (3) ด้านทักษะทางปัญญา (4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ (5) ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้นักศึกษาบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง                                                                                                                                                                                                                             ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) และผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) รวมถึงความรู้และทักษะทั่วไปและความรู้และทักษะเฉพาะทาง ภายหลังสำเร็จการศึกษา มีรายละเอียดดังนี้

PLOs ผลลัพท์การเรียนรู้ (Program Learning Outcomes)

ความรู้/ทักษะทั่วไป Generic

ความรู้/ทักษะเฉพาะทาง Specific

TQF กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

1.1  ตระหนักในคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต

P

 

(1) คุณธรรมจริยธรรม ข้อ 1.1

1.2  มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม

P

 

(1) คุณธรรมจริยธรรม ข้อ 1.2

1.3  มีสำนึกสาธารณะ และมีความเป็นพลเมืองที่ดี

 

P

(1) คุณธรรมจริยธรรม ข้อ 1.3

2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและแนวคิดที่สำคัญทางด้านเศรษฐศาสตร์

 

P

(2) ความรู้ ข้อ 2.1

2.2  มีสามารถในการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการ ประยุกต์และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม

 

P

(2) ความรู้ ข้อ 2.2

2.3  มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งมีความเข้าใจอย่างเท่าทันในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศและสังคมโลก

P

 

(2) ความรู้ ข้อ 2.3

3.1  มีความสามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูลจากหลักฐานได้จากหลายแหล่งและมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง

P

 

(3) ทักษะทางปัญญา ข้อ 3.1

3.2 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบแบบองค์รวม มีเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

 

P

(3) ทักษะทางปัญญา ข้อ 3.2

3.3  มีความสามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่

 

P

(3) ทักษะทางปัญญา ข้อ 3.3

4.1 มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและรู้บทบาทของตนเองในกลุ่มทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกกลุ่ม  รวมทั้งสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้

P

 

(4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ข้อ 4.1

4.2 มีความสามาถในการทำงานกลุ่มอย่างเต็มความสามารถเพื่อผลงานที่มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถแสดงความคิดริเริ่ม และความคิดเห็นต่างอย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม

P

 

(4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ข้อ 4.2

4.3 มีความสามาถในการวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง วิชาชีพและสังคม

P

 

(4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ข้อ 4.3

5.1 มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเลือกใช้รูปแบบที่ เหมาะสม

P

 

(5) ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อ 5.1

5.2 มีความสามารถในเลือกประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน

 

P

(5) ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อ 5.2

5.3 มีทักษะพื้นฐานและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร การนำเสนอ การสืบค้นข้อมูล เพื่อการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องอย่างรู้เท่าทัน

P

 

(5) ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อ 5.3

แนวทางประกอบอาชีพ 

ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ได้แก่ นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ที่ปรึกษา นักวิเคราะห์การขาย นักวิเคราะห์การลงทุน นักธุรกิจ สื่อสารมวลชน ข้าราชการ นักการเมือง และประกอบอาชีพอิสระอื่นๆ


แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกียวข้องได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 23,100.- บาท (ทวิภาค)
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 184,800.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร 

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 171 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)  
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 40 หน่วยกิต
  1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 20 หน่วยกิต
  2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 12 หน่วยกิต
  3) กลุ่มวิชาสุขพลานามัย 4 หน่วยกิต
  4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 4 หน่วยกิต
  5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ 4* หน่วยกิต
  หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร
       
2. หมวดวิชาเฉพาะ   123 หน่วยกิต
  1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาเอก 20 หน่วยกิต
  2) กลุ่มวิชาเอกบังคับ 58 หน่วยกิต
  3) กลุ่มวิชาเอกเลือก 20 หน่วยกิต
 
4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา
  25 หน่วยกิต
       
3. หมวดวิชาเลือกเสรี   8 หน่วยกิต
 

ช่องทางการติดต่อ