- สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- 0 7547 690 1
- [email protected]
- Mon - Fri: 8:30 - 16:30
ชื่อหลักสูตร มคอ2
ภาษาไทย: หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Accountancy Program
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย
- ชื่อเต็ม: บัญชีบัณฑิต
- ชื่อย่อ: บช.บ.
ภาษาอังกฤษ
- ชื่อเต็ม: Bachelor of Accountancy
- ชื่อย่อ: B.Acc.
ปรัชญา
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สำนักวิชาการจัดการ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติ ให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงผ่านการสหกิจศึกษา (Co-operative Education) เต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในทักษะวิชาชีพ ควบคู่กับทักษะด้านภาษา การคิดคำนวณและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมประกอบอาชีพทางด้านบัญชีและเป็นพื้นฐานในการศึกษาในระดับสูงต่อไป อีกทั้งสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในระดับสากล
วัตถุประสงค์
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพการเรียนการสอน ผ่านการสหกิจศึกษาเต็มรูปแบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนี้
- มีความรู้ความสามารถที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพบัญชีตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ (International Education Standards: IES) จัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ วิชาชีพ การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจและเทคโนโลยี
- มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- มีศักยภาพพร้อมที่จะออกไปประกอบวิชาชีพบัญชีในองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีศักยภาพพร้อมนำความรู้ในวิชาทางบัญชีไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
- มีความสามารถทั้งด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และการใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการรวบรวม การค้นคว้า และการสื่อสาร
- มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี และเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเป็นผู้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณ สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีศักยภาพพร้อมที่จะออกไปประกอบวิชาชีพในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพพร้อมนำความรู้ในวิชาทางบัญชีไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
- PLO1 อธิบายและประยุกต์ศาสตร์ทางการบัญชีในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
- PLO2 อธิบายและประยุกต์หลักคณิตศาสตร์ สถิติและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องในการประกอบวิชาชีพบัญชี
- PLO3 สืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหา
- PLO4 เรียนรู้และประเมินการเปลี่ยนแปลงในศาสตร์ทางการบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
- PLO5 ระบุปัญหาในการปฏิบัติทางบัญชีในเรื่องความสำคัญต่อองค์กรและสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
- PLO6 ปฏิบัติวิชาชีพได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ
- PLO7 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- PLO8 ปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และมีความรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
- PLO9 วิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพรวมทั้งการใช้ความรู้ ความสามารถเชิงเทคนิคในการบริหารองค์กรได้ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
- PLO10 สื่อสารและถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานวิชาชีพบัญชีได้
- PLO11 จัดทำและนำเสนอรายงานทางการเงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และวิเคราะห์รายงานทางการเงินได้
- PLO12 ปฏิบัติงานสอบบัญชีและแสดงความเห็นต่องบการเงินได้
แนวทางประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพบัญชีได้ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในลักษณะของการประกอบวิชาชีพอิสระ และการทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดังต่อไปนี้
- ด้านการทำบัญชี
- ด้านการสอบบัญชี
- ด้านการบัญชีบริหาร
- ด้านการภาษีอากร
- ด้านการวางระบบบัญชี
- ด้านการตรวจสอบภายใน
แนวทางการศึกษาต่อ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต เน้นให้บัณฑิตเป็นผู้ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสามารถค้นคว้าและทำวิจัยได้ด้วยตนเอง เพื่อสร้างพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 23,100 บาท (ทวิภาค)
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 184,800 บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 177 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา |
จำนวนหน่วยกิต |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
40 |
1) กลุ่มวิชาภาษาไทย |
4 |
2) กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ |
16 |
3) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
4 |
4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
4 |
5) กลุ่มวิชากีฬาและสุขภาพ |
2 |
6) กลุ่มวิชาธุรกิจและการประกอบการ |
3 |
7) กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ |
7 |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ |
129 |
1) กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ |
28 |
2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ |
56 |
3) กลุ่มวิชาชีพเลือก |
20 |
4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา |
25 |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี |
8 |
รวมตลอดหลักสูตร |
177 |