ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration Program in Business Management and Finance in the Digital Era
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration (Business Management and Finance in the Digital Era)
วิสัยทัศน์
เป็นผู้นำในการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ด้านการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
1.1 ปรัชญา ความสำคัญ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะ ใฝ่รู้ และมีจริยธรรมในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งมีความรู้พื้นฐานเพื่อศึกษาในระดับสูง สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้วยประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานจริงผ่านระบบสหกิจศึกษา ตลอดจนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และสามารถประยุกต์ความรู้กับสภาพความเป็นจริงของสังคมได้
1.2 จุดเด่นของหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล ได้มีการพัฒนาเนื้อหารายวิชาโดยเชื่อมโยงในเรื่องของนโยบาย Thailand 4.0 และ 3S ที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริม คือ Startup, SME และ Social Enterprise รวมทั้งทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (Thailand Professional Qualification) เข้าด้วยกัน จึงทำให้มีวิชาที่ทันสมัยและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการที่จะเน้นสมรรถนะในการทำงาน มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และมีการให้ความสำคัญกับเรื่องภาษาอังกฤษทั้งในวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาเฉพาะทาง นอกจากนี้แล้วยังมีระบบสหกิจศึกษา 2 ภาคการศึกษาต่อเนื่องกัน ที่ช่วยให้นักศึกษาได้ปรับตัวก่อนสำเร็จการศึกษาและมีประสบการณ์ทำงานจริง สามารถบูรณาการความรู้ในภาคทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ สร้างความแตกต่างและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด นอกจากนั้นมีกำหนดกระบวนการทดสอบก่อนสำเร็จการศึกษา เพื่อเป็นการประมวลความรู้ให้แก่นักศึกษา คือการสอบประมวลความรู้ก่อนสำเร็จการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล (Exit Exam)
1.3 วัตถุประสงค์ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
1.3.1 วัตถุประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
1) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
2) เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนชื่นชมในระบบคุณค่าของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม ซาบซึ้งใน
ความงามของธรรมชาติ
3) เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ให้คุณค่าต่อการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เป็นโอกาสความสำเร็จของชีวิต และดำรงตนเป็นพลเมืองดีของโลก
4) เพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาของผู้เรียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบทในการสื่อสารแต่ละครั้ง
5) เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้เรื่องการบริหารจัดการไปใช้จัดการตนเอง
ทั้งด้านชีวิตส่วนตัว ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคม โดยผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาและวางแผนชีวิตของตนได้ดีขึ้นด้วยการใช้หลักบริหารจัดการดังกล่าว
6) เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่ถูกต้อง สามารถนำไปใช้เป็นกิจกรรมออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิต สุขภาพกายให้มีความแข็งแรง
7) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ชีวิตประจำวัน หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ทางสังคมต่าง ๆ และสามารถปรับตัวได้ในสังคมที่มีความหลากหลาย ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงเร็ว
1.3.2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (Program Learning Outcomes, PLOs)
PLO1: สามารถสื่อสารทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยในสถานการณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO2: สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและรู้เท่าทัน
PLO3: สามารถปรับตัวในสังคมโลก โดยอาศัยความเข้าใจถึงพัฒนาการทางสังคม แนวคิดด้านปรัชญา ลักษณะทางพหุวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบ
PLO4: สามารถแสวงหาความรู้และพัฒนาตนเองทางด้านกระบวนการคิด บุคลิกภาพ สุขภาพ ความกตัญญู ความมีวินัย จิตอาสา ภาวะผู้นำ และกระบวนการบริหารจัดการ ได้อย่างต่อเนื่อง
1.3.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Curriculum Aims)
- มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญทางการจัดการธุรกิจและการเงิน
- มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ และมีความรับชอบต่อสังคม
- สามารถประยุกต์ความรู้กับสภาพความเป็นจริงของสังคมได้
- มีความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพระบบสหกิจศึกษา
1.3.4 ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes, ELOs)
1)ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
PLO1 | สามารถอธิบายหลักการ ความรู้พื้นฐาน และแนวคิดในการจัดการธุรกิจและการเงิน |
PLO2 | แสดงออกถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม |
PLO3 | มีทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และประสานความร่วมมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
PLO4 | สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจและการเงิน |
PLO5 | สามารถประยุกต์องค์ความรู้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและ/หรือประกอบธุรกิจของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ |
2)ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายชั้นปี (Year Learning Outcomes, YLOs)
ชั้นปีที่ | ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายชั้นปี (Year Learning Outcomes, YLOs) |
1 | มีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสังคม สามารถนำเสนอธุรกิจต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจ (inspriration) ในการสร้างธุรกิจของตนเองได้ |
2 | นำความรู้พื้นฐานด้านการจัดการธุรกิจและการเงินไปเชื่อมโยงองค์ความรู้กับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างแนวคิดในการประกอบธุรกิจ (idea generation) ของตนเองได้ |
3 | พัฒนาแนวคิดธุรกิจสู่แผนธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ในการสร้างธุรกิจจริง (Incubation) |
4 | นำแผนธุรกิจและต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการไปทดสอบตลาด พร้อมเริ่มต้นธุรกิจ (Innovative Startup) |
1.3.5 ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร | ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร(Program Learning Outcomes: PLOs) | ||||
PLO1 | PLO2 | PLO3 | PLO4 | PLO5 | |
1. มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญทางการจัดการธุรกิจและการเงิน | / | / | / | / | |
2. มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม | / | / | / | ||
3. สามารถประยุกต์ความรู้กับสภาพความเป็นจริงของสังคมได้ | / | / | / | / | / |
4. มีความรู้และประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ | / | / | / | / | / |
1.4 ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLO) | ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | |||||
ตลาดแรงงาน | วิสัยทัศน์/พันธกิจของมหาวิทยาลัย | วิสัยทัศน์/พันธกิจของสำนักวิชา | ผู้ใช้บัณฑิต/สถานประกอบการ | ศิษย์เก่า | นักศึกษาปัจจุบัน | |
PLO1 สามารถอธิบายหลักการ ความรู้พื้นฐาน และแนวคิดในการจัดการธุรกิจและการเงิน | / | / | / | / | / | / |
PLO2 แสดงออกถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม | / | / | / | / | / | / |
PLO3 มีทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และประสานความร่วมมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ | / | / | / | / | / | / |
PLO4 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจและการเงิน | / | / | / | / | / | / |
PLO5 สามารถประยุกต์องค์ความรู้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและ/หรือประกอบธุรกิจของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ | / | / | / | / | / | / |
1.5ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs) และผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) รวมถึงความรู้และทักษะทั่วไป และความรู้และทักษะเฉพาะทาง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLO)
| ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) | ||||||||||||||
1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม | 2.ด้านความรู้
| 3.ด้านทักษะทางปัญญา
| 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
| 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี | |||||||||||
1.1 | 1.2 | 1.3 | 2.1S | 2.2S | 2.3S | 3.1S | 3.2S | 3.3S | 4.1G | 4.2G | 4.3G | 5.1G | 5.2G | 5.3G | |
PLO1 สามารถอธิบายหลักการ ความรู้พื้นฐาน และแนวคิดในการจัดการธุรกิจและการเงิน | / | / | / | / | / | ||||||||||
PLO2 แสดงออกถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม | / | / | / | / | |||||||||||
PLO3 มีทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และประสานความร่วมมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ | / | / | / | / | / | / | / | / | |||||||
PLO4 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจและการเงิน | / | / | / | / | / | / | / | / | / | ||||||
PLO5 สามารถประยุกต์องค์ความรู้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและ/หรือประกอบธุรกิจของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ | / | / | / | / | / | / | / | / | / | / | / | / | / | / | / |
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
สาขาการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของการเงินในยุคดิจิตอลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บัณฑิตจึงต้องเป็นทั้งผู้ที่มีสมรรถนะหลักด้านความรู้ ความสามารถ ความเป็นเลิศในทางวิชาการ รวมทั้งการมีทัศนคติเชิงบวก พร้อมด้วยจิตวิทยาบริการ และการบริการมูลค่าสูงภายใต้ความเป็นไทย (Thainess) โดยจุดเด่นของบัณฑิตทางการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล คือความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ ความสามารถในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และการเงินยุคดิจิทัล มีทักษะในการปฏิบัติงานจริง สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีควบคู่กับการมีบุคลิกภาพที่ดี และด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษผ่านการเรียนรู้โดยใช้การทํางานเป็นฐาน (Active Leaning)
แนวทางประกอบอาชีพ
1) ผู้ประกอบธุรกิจอิสระ
2) นักลงทุนอิสระ
3) เจ้าหน้าที่สินเชื่อ/พนักงานสถาบันการเงิน
4) นักวิเคราะห์โครงการลงทุน
5) พนักงานองค์กรภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ/เอกชน
6) นักพัฒนาองค์กรและวางแผนกลยุทธ์
แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาการเงินยุคดิจิทัลหรือสาขาอื่นๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 14,400.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 172,800.- บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 153 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 40 หน่วยกิต
1) | กลุ่มวิชาภาษาไทย | 4 หน่วยกิต |
2) | กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ | 16 หน่วยกิต |
3) | กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | 4 หน่วยกิต |
4) | กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 4 หน่วยกิต |
5) | กลุ่มวิชากีฬาและสุขภาพ | 2 หน่วยกิต |
6) | กลุ่มวิชาธุรกิจและการประกอบการ | 3 หน่วยกิต |
7) | กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ | 7 หน่วยกิต |
หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 105 หน่วยกิต
1) | กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ | 48 หน่วยกิต |
2) | กลุ่มวิชาเอก | 40 หน่วยกิต |
2.1) กลุ่มวิชาเอกบังคับ | 24 หน่วยกิต | |
2.2) กลุ่มวิชาเอกเลือก | 16 หน่วยกิต | |
2.3) กลุ่มวิชาสหกิจ | 17 หน่วยกิต | |
ค. หมวดเลือกเสรี 8 หน่วยกิต