โครงการการสร้างความร่วมมือและการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยของไทยในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน RSPO ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ภายใต้โครงการวิชาการรับใช้สังคม (WU-Social Engagement) ของศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีงบประมาณ 2567

โครงการการสร้างความร่วมมือและการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยของไทยในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน RSPO ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ภายใต้โครงการวิชาการรับใช้สังคม (WU-Social Engagement) ของศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีงบประมาณ 2567 โดย มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมใจ หนูผึ้ง อาจารย์ประจำหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหัวหน้าโครงการ โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างความร่วมมือหน่วยงานภายนอกในการขับเคลื่อนการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน RSPO และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่างๆ และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามแนวทาง RSPO ให้แก่ เกษตรกรรายย่อย ผู้จัดการกลุ่มหรือผู้นำกลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการลานเทปาล์มน้ำมัน รวมทั้งการสร้างระบบพี่เลี้ยงในการสนับสนุน ส่งเสริม และแนะนำ การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน และการขายเครดิตปาล์มน้ำมันที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน RSPO ผ่านระบบ Palm-Trace ในตลาดโลก
โครงการการสร้างความร่วมมือและการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยของไทยในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน RSPO ได้จัดประชุมในหัวข้อ แนวทางการยกระดับลานเทปาล์มน้ำมัน สู่มาตรฐานความยั่งยืน RSPO เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมปัจจักขภัติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี โดยผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักเลขานุการ องค์กรเจรจาการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน หรือ Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) จากประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการลานเทปาล์มน้ำมันนายกสมาคมสานเทปาล์มน้ำมันแห่งประเทศและคณะกรรมการสมาคมฯ ตัวแทนจากองค์กรภาครัฐทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ นักวิชาการที่ทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคใต้ จำนวนรวมกว่า 40 ราย โดยการประชุมดังกล่าว ได้ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงาน ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การเตรียมความพร้อมเกษตรกร โรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน และผู้ประกอบการลานเทปาล์มน้ำมัน ปัญหา อุปสรรค รวมทั้งสรุปแนวทางในการยกระดับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและลานเทปาล์มน้ำมันเข้าสู่มาตรฐาน RSPO
โครงการการสร้างความร่วมมือและการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยของไทยในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน RSPO ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นั้น เป็นโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 1 No Poverty ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ ตามเป้าประสงค์ที่ 1.4 โครงการที่ขจัดความยากจนให้แก่ชุมชน ตัวชี้วัดที่ 1.4.1 สนับสนุนความช่วยเหลือแก่ชุมชนท้องถิ่นสำหรับเริ่มต้นธุรกิจอย่างยั่งยืนผ่านการศึกษาหรือแหล่งเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย และ ข้อที่ 2 Zero Hunger ขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน ตามเป้าประสงค์ที่ 2.5 ความหิวโหยแห่งชาติ ตัวชี้วัดที่ 2.5.2 จัดงานหรือกิจกรรมให้แก่เกษตรกรและผู้ผลิตอาหารในท้องถิ่นเพื่อสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน 🌟💖
…………………………………………………………………………………………………………………
 
 
Facebook Comments