ชื่อหลักสูตร 

ภาษาไทย: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration Program in Business Management and Finance in the Digital Era


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration (Business Management and Finance in the Digital Era)

วิสัยทัศน์

เป็นผู้นำในการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ด้านการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล

ปรัชญา 

                   ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะด้านการประกอบธุรกิจ ชาญฉลาดในการบริหารเงิน และเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล ตลอดจนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ภายใต้แนวคิด “สร้างนักธุรกิจ ติดสกิลการเงิน”

     1.2 จุดเด่นของหลักสูตร

             การปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล ได้มีการพัฒนาเนื้อหารายวิชาโดยเชื่อมโยงในเรื่องของนโยบาย Thailand 4.0 และ 3S ที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริม คือ Startup, SME และ Social Enterprise รวมทั้งทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (Thailand Professional Qualification) เข้าด้วยกัน จึงทำให้มีวิชาที่ทันสมัยและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ  และสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการที่จะเน้นสมรรถนะในการทำงาน  มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และมีการให้ความสำคัญกับเรื่องภาษาอังกฤษทั้งในวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาเฉพาะทาง นอกจากนี้แล้วยังมีระบบสหกิจศึกษา 2 ภาคการศึกษาต่อเนื่องกัน ที่ช่วยให้นักศึกษาได้ปรับตัวก่อนสำเร็จการศึกษาและมีประสบการณ์ทำงานจริง สามารถบูรณาการความรู้ในภาคทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ สร้างความแตกต่างและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด  นอกจากนั้นมีกำหนดกระบวนการทดสอบก่อนสำเร็จการศึกษา เพื่อเป็นการประมวลความรู้ให้แก่นักศึกษา คือการสอบประมวลความรู้ก่อนสำเร็จการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล (Exit Exam)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการที่มีทักษะทางการเงินสำหรับการประกอบธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล  

2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้ปฏิบัติงานในองค์กรภาคเอกชนและภาครัฐบาลที่มีบทบาทส่งเสริมการประกอบธุรกิจ

3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ

4. ผลิตบัณฑิตตามเกณฑ์ 4 ด้าน ดังประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา  พ.ศ. 2565

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs)

               หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองทิศทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ชาติและมหาวิทยาลัย ตลอดจนความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสอดคล้องตามเกณฑ์ 4 ด้าน ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 รวมทั้งการมุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ สามารถแสวงหาความรู้ได้ตลอดชีวิต บนพื้นฐานของการมีจิตสำนึกในการรักชาติ       รักแผ่นดิน มีความกตัญญู มีวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตร      นี้มีความสามารถแต่ละด้านดังนี้

           

  • ด้านความรู้ (Knowledge)

PLO1

อธิบายความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ทั่วไป วิทยาศาสตร์พื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตและการประกอบธุรกิจ

PLO2

อธิบายหลักการและแนวคิดด้านการบริหารธุรกิจเพื่อการประกอบธุรกิจ

PLO3

ประยุกต์ใช้และบูรณาการความรู้ด้านการจัดการธุรกิจ เพื่อวางแผนและตัดสินใจในการประกอบธุรกิจ

PLO4

ประยุกต์ใช้และบูรณาการความรู้ด้านการเงิน เพื่อบริหารการเงินของธุรกิจและการเงินส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ

     

  • ด้านทักษะ (Skills)

PLO5

มีทักษะการวางแผนด้านการเงินเพื่อการตัดสินใจในการประกอบธุรกิจและการเงินส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ

PLO6

มีทักษะในการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการทางธุรกิจ และพัฒนาแผนธุรกิจเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจ

PLO7

มีทักษะการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัล

PLO8

มีทักษะการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และในการทำงานด้านธุรกิจ ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน และเสนอผลงานได้ตามวัตถุประสงค์ ในกรณีที่ นักศึกษาเลือกภาษาจีน สามารถสื่อสารภาษาจีนในชีวิตประจำวันได้

PLO9

มีทักษะในการรู้เท่าทัน สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในยุคดิจิทัล และดูแลสุขภาวะของตนเองให้พร้อมต่อการเป็นผู้ประกอบการ

 

  • ด้านจริยธรรม (Ethics)

PLO10

แสดงออกถึงการมีความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญู ปฏิบัติตามกฎกติกา เคารพกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและปฏิบัติตามแนวทางการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environment, Social and Governance: ESG)

  • ด้านลักษณะบุคคล (Character)

PLO11

แสดงออกถึงการเป็นผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรม ชาญฉลาดในการบริหารการเงิน และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจ

PLO12

แสดงออกถึงการมีวินัย การมีภาวะผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีม ประสานความร่วมมือได้ และมีจิตอาสา

 

1.3.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Curriculum Aims)

  • มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญทางการจัดการธุรกิจและการเงิน
  • มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ และมีความรับชอบต่อสังคม
  • สามารถประยุกต์ความรู้กับสภาพความเป็นจริงของสังคมได้
  • มีความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพระบบสหกิจศึกษา

       


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

สาขาการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของการเงินในยุคดิจิตอลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บัณฑิตจึงต้องเป็นทั้งผู้ที่มีสมรรถนะหลักด้านความรู้ ความสามารถ ความเป็นเลิศในทางวิชาการ รวมทั้งการมีทัศนคติเชิงบวก พร้อมด้วยจิตวิทยาบริการ และการบริการมูลค่าสูงภายใต้ความเป็นไทย (Thainess) โดยจุดเด่นของบัณฑิตทางการจัดการธุรกิจและการเงินยุคดิจิทัล คือความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ ความสามารถในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และการเงินยุคดิจิทัล มีทักษะในการปฏิบัติงานจริง สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีควบคู่กับการมีบุคลิกภาพที่ดี และด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษผ่านการเรียนรู้โดยใช้การทํางานเป็นฐาน (Active Leaning) 


แนวทางประกอบอาชีพ

1) ผู้ประกอบธุรกิจอิสระ

2) นักลงทุนอิสระ

3) เจ้าหน้าที่สินเชื่อ/พนักงานสถาบันการเงิน

4) นักวิเคราะห์โครงการลงทุน

5) พนักงานองค์กรภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ/เอกชน

6) นักพัฒนาองค์กรและวางแผนกลยุทธ์


แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาการเงินยุคดิจิทัลหรือสาขาอื่นๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 23,100.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 184,800.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต  รวมตลอดหลักสูตร                      122  หน่วยกิต

หมวดวิชา

หน่วยกิตตามเกณฑ์ อว.

พ.ศ. 2565

หน่วยกิตของหลักสูตรปรับปรุง 

ปีการศึกษา 2567

ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า

24

26

โดยเลือก

ภาษาอังกฤษ

9 หน่วยกิต หรือภาษาจีน

9 หน่วยกิต

ข) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า

     1) กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ                                             

     2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน                                            

     3) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา

72

90 

33

44

13

ค) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า

6

6 

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า

120

       122